ประชาสัมพันธ์

ศาลหลักเมืองพิษณุโลก

รายละเอียด ศาลหลักเมืองพิษณุโลก
พิษณุโลก เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มานานควบคู่มากับประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยมีชื่อเรียกต่างๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง ทวิสาขะ ไทยวนที อกแตก และพิษณุโลก ตำนานการสร้างเมืองพิษณุโลก “แต่ชาติก่อน พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นภิกษุได้สร้างพระไตรปิฎกเพื่อศาสนา พระกกุสนธิ์เจ้า ครั้งพระองค์เกิดมาตรัสรู้ในไตรปิฎกทั้งสามพระองค์จึงรู้ในพระทัยว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตทางตะวันตก ตะวันออก แล้วเสด็จไปอาศัยจึงหันใต้ต้นสมอ และควรไปสร้างเมืองไว้ในสถานทันที พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงมีพระราชโองการตรัสสั่ง จ่านกร้อง จ่าการบูรณ์ ให้ทำเป็นพ่อค้าเกวียนไปด้วยคนละ 500 เล่ม เต็มไปด้วยทุนทรัพย์ทั้งหลาย จ่านกร้อง จ่าการบูรณ์ รับพระราชโองการแล้วทูลลา พวกพาณิชย์ พ่อค้าตามสั่งแล้ว จ่านกร้อง จ่าการบูรณ์ จึงมาเชียงแสน มาถึงเมืองน่าน แล้วก็มาถึงเมืองลิหล่ม พักพอไหว้พระบาทธาตุ พระพุทธเจ้า แล้วจึงข้ามแม่น้ำตรอนตนิม แล้วจึงข้ามแม่น้ำแควน้อย แล้วจึงถึงบ้านพราหมณ์ที่ พระพุทธเจ้าบิณฑบาตบ้านพราหมณ์ข้างตะวันออก 150 เรือน ข้างตะวันตก 100 เรือน มีเศษ จ่านกร้อง จ่าการบูรณ์ คิดอ่านกันว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเจ้า เราใช้เรามาที่ชะรอยจะเป็นปริศนาแก่เราทั้งสองนี้แล้วจึงอาชญาฐานที่นี้ ก็เป็นอันราบคาบนักหนาทั้ง 2 ฟาก มีบ้านพราหมณ์ก็อยู่ทั้ง 2 ฟาก มาเราจะสร้างเมืองถวายแก่เจ้าเราเกิด ครั้นเจ้าทั้ง 2 คิดกันแล้ว จ่านกร้อง จึงให้พ่อค้าเกวียน 500 เล่ม ข้ามไปข้างตะวันตก ก็ตั้งประกับเกวียนไว้ แล้วจึงทำสารบาญชีชะพ่อพราหมณ์ และไพร่ของตนรวมกันเป็นคน 1,000 ทำอิฐ จ่าการบูรณ์ ทำบัญชีชะพ่อพราหมณ์และไพร่ของตน รวมกันเป็นคน 1,000 ทำอิฐได้เป็นอันมากแล้วจึงให้ทำชะพ่อพราหมณ์ อันเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ตามไสยศาสตร์ จึงให้ชะพ่อพราหมณ์กินบวชถือศีลแขนง 7 วัน แล้วสระเกล้า แล้วขึ้นโล้ถีบอัมพวายแก่พระอิศวรเป็นเจ้า จึงเอาพระอิศวรออกไปเลียบที่ตั้งเมือง จึงให้พราหมณ์ชักรอบทิศตั้งเมือง แล้วจึงปันหน้าที่ยาว 50 เส้น สกัด 10 เส้น 10 วา ปันหน้าที่ไว้แก่ พราหมณ์ จะได้เท่าใด อาจจะได้เท่าใด ครั้นเป็นหน้าที่แล้วพอได้ ณ วันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น ค่ำ 1 ปีฉลู ฉ.ศก เวลาเช้าต้องกับเพลา เมื่อพระพุทธเจ้า ฉันจึงหันใต้ต้นสมอ วันนั้นพระอุบาฬีเถระ และพระศิริมานนท์ก็นิพพานในที่นั้น แต่ก่อนก็เรียกว่า พนมสมอ ปัจจุบันคือ เขาสมอแครง ซึ่งบรรจุพระธาตุเจ้าทั้ง 2 ไว้ที่นั่น และครั้นพระสงฆ์องค์ใดเข้ามาอยู่ที่นั้นก็ย่อมเรียกตามที่นั้นว่าเป็นอรัญวาสี จ่านกร้องสร้าง ข้างตะวันตก จ่าการบูรณ์สร้างข้างตะวันออกแบ่งกันทำ ปีหนึ่งกับเจ็ดเดือนจึงแล้ว รวมบ้านพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งคูก็รอบกับหนทางเด็กเลี้ยงวัว ลูกชาวบ้าน หริภุญชัยไปมาปั้นพระนอนเล่น ทั้งสองฟาก เป็นประตู ก็ถามคนอันเป็นผู้เฒ่าแก่ทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลายจึงว่า ทั้งสองสิเป็น มหาเสนาการ ทั้งนี้ตามแต่ปัญญา เจ้าทั้งสองเกิดสร้างเมืองปีหนึ่งกับเจ็ดเดือนจึงแล้วดั่งนี้แล ครั้นจ่านกร้องจ่าการบูรณ์ ทำเมืองแล้วทั้งสองฟากทั้งทวาร บานประตู บริบูรณ์แล้ว จึงสั่งจึงส่งชีพราหมณ์ให้รักษาเมือง ครั้งได้ฤกษ์ดี จึงนำเอาเกวียนและคน 500 เล่ม ขึ้นไป 2 เดือน จึงถึงเมืองเชียงแสนราชธานี จ่าทั้งสองเข้าไปถวายบังคม จ่าทั้งสองจึงกราบทูลพระกรุณา ว่าพระอง๕เจ้าใช้ตูเข้าไปถึงที่พระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอ สถานที่นั่นเป็นอันสนุกนักหนาข้าพเจ้าชวนกันชะพ่อพราหมณ์ทั้งหลาย สร้างเมืองถวายแก่พระองค์เจ้าแล้ว พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยินดีนักหนาจึงมีพระราชโองการตรัสสั่งเสนาอำมาตย์ให้ชุมนุมท้าวพระยาทั้งหลาย พระองค์จึงให้จ่าทั้งสอง ไปก่อนเป็นทัพหน้า ท้าวพระยาทั้งหลายเป็นปีกซ้ายขวา เจ้าไกสรราชเจ้าชาติสาครพระราชโอรสทั้งสองเป็นกองรั้งหลัง ตามเสด็จพระราชบิดา พระมารดา ออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ เลาเช้า ไปได้สองเดือนจึงถึง พระองค์ได้ตั้งพลับพลาทองริมน้ำไกลเมืองประมาณ 100 เส้น สมเด็จพระศรีธรรมไตรปิฎก จึงให้ท้าวพระยาทั้งหลาย และเจ้าไกสรราช เจ้าชาติสาคร ตามเสด็จเข้าไปในเมือง จึงมีพระราชโองการ ตรัสถามชะพ่อพราหมณ์ว่า เราจะให้ชื่อเมืองอันใดดีพราหมณาจารย์จึงกราบทูลตอบพระราชโองการว่า พระองค์เจ้ามาถึงวันนี้ได้ยามพิษณุ พระองค์ได้ชื่อเมืองตามคำพราหมณ์ว่า “ เมืองพิษณุโลก ” ถ้าว่าจะตามพระพุทธเจ้ามาบิณฑบาตก็ชื่อว่า “ โอฆบุรี ” ตะวันออก ตะวันตก ชื่อ “ จันทบูรณ์ ” พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งท้าวพระยาทั้งหลายว่า เราชวนกันสร้างพระธาตุและพระวิหารใหญ่ ทั้ง 4 ครั้นสร้างของพระยาแล้วต่างคนต่างสร้างคนละองค
วีดีโอแนะนำจากพิษณุโลกไลฟ์